6 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ “ไข้เลือดออก”
“โรคไข้เลือดออก” หรือ “ไข้เลือดออกเดงกี” โรคประจำถิ่นที่อยู่คู่กับคนทั่วโลกมามากกว่า 30 ปี แค่เฉพาะในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคในช่วง 15 ปีที่ผ่านมามีคนไทยมากกว่า 1,000,000 คนเคยป่วยเป็นโรคนี้ และเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงภัยร้ายจากไข้เลือด เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2565 ได้มีการปล่อยแคมเปญ “เรื่องจริงของอิงมา” โดยมอบความรู้ และถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์จริงของผู้ที่เคยผ่านการเป็นไข้เลือดออก สู่การออกแบบ Virtual Human โดย AI จะใช้ฐานข้อมูล เช่น ใบหน้า ตา หู จมูก ปาก หรือแม้แต่เสียงของคนไทยที่เคยเป็น "ไข้เลือดออก" ประกอบ และรวบรวมเป็นตัวละครภายใต้ชื่อ อิงมา
เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาเข้าใจ 6 เรื่องจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับไข้เลือดออก
1. โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือชนบท
เพราะว่าพาหะนำโรคไข้เลือดออก คือ “ยุงลาย” เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือชนบทก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ โดย 5 จังหวัดที่มีผู้ติดมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ตาก นครปฐม ชลบุรี ร้อยเอ็ด
2. ไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนชรา
หลายคนมักเข้าใจผิดว่า โรคไข้เลือดออกนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใหญ่ แต่ความจริงคือ สามารถเกิดได้ขึ้นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา ช่วงอายุที่พบว่าเป็นไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี และอายุ 15-24 ปี นอกจากนี้คนที่มีโรคประจำตัว หรือโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน อาจจะมีความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นอีกด้วย
3. ไข้เลือดมีทั้งแบบไม่แสดงอาการ ไปจนถึงเสียชีวิต
ไข้เลือดออกจะถูกแบ่งตามระยะความรุนแรงของโรคอยู่ 3 ระยะ ได้แก่
1) ระยะไข้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างเป็นไข้หวัด กับไข้เลือดออก คือ ไข้เลือดออกจะมีอาการอย่างจุดเลือดออกตามตัว หน้าแดง และไม่มีน้ำมูก อาการไอ
2) ระยะช็อก จากรายงาน 1 ใน 3 จะมีอาการรุนแรง ให้สังเกตว่ามีไข้ลดลงเร็วผิดปกติหรือไม่ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
3) ระยะฟื้นตัว หลังจากได้รับการดูแล ประมาณ 3-7 วันหลังจากระยะไข้อาการก็จะดีขึ้นจนหายเป็นปกติ
4. ไข้เลือดออกสามารถเป็นซ้ำได้นะ
โรคไข้เลือดออกสามารถเป็นซ้ำได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เนื่องจากไวรัสเดงกี ที่เป็นต้นเหตุของโรคนี้มีมากถึง 4 สายพันธุ์ (ในไทยพบมากในสายพันธุ์ที่ 1 และ 2) ถึงเราจะเคยเป็น แต่ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์ที่เคยติด และคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์ที่ไม่เคยติดแค่ช่วงสั้นๆ ทำให้เรามีโอกาสติดซ้ำได้
5. ยิ่งติดเชื้อซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง อาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
หากเคยเป็นแล้วมาติดซ้ำในสายพันธุ์อื่น ก็จะมีอาการของโรคที่รุนแรงมากขึ้นกว่าครั้งก่อน โดยเฉพาะในสายพันธุ๋ที่ 2
6. ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะโรคไข้เลือดออก
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อ หรือวัคซีนที่สามารถรักษาโรคไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์ได้ การรักษาจึงเน้นไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นเพื่อให้ร่างกายกับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองตามที่แพทย์สั่ง
---------------------------------------------------
เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแล เราแนะนำ ประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อนโดยจะเน้นความคุ้มครองทั้งโรคไข้เลือดออก รวมถึงโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากยุง ได้แก่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา), โรคไวรัสซิก้า, โรคไข้จับสั่น (มาลาเรีย) และโรคไข้สมองอักเสบ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.axa.co.th/axa-tropical-disease
---------------------------------------------------
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของแคมเปญ “เรื่องจริงของอิงมา” ได้ที่ https://ddc.moph.go.th/dvb/ingma/#!/
Source เพิ่มเติม:
https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44
#เรื่องจริงจากอิงมา #DengueVirtualHuman #ประกันไข้เลือดออกออนไลน์