ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

รอย “ร้าว รั่ว ซึม” บนผนัง ..บอกอาการบ้านได้

รอย “ร้าว รั่ว ซึม” บนผนัง ..บอกอาการบ้านได้

รอย ” ร้าว รั่ว ซึม “ ต่างๆ ในบ้านเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากและมักจะพบเจอกันแทบทุกบ้าน ทุกคอนโดฯ เลยนะคะ ..ทราบกันหรือไม่ว่ารอยต่างๆ นี้บอกอาการของบ้านได้ เพราะมันแสดงถึงระดับความอันตรายของปัญหาบ้าน ซึ่งบางรอยบอกถึงปัญหาใหญ่ที่ต้องเรียกวิศวกรมาตรวจสอบและแก้ไขเร่งด่วน แต่บางรอยก็เป็นปัญหาเล็กๆ ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถแก้เองได้เลย อย่างไรก็ตามทุกปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ควรจะต้องเช็คให้แน่ใจว่าอันตรายหรือไม่ วันนี้ทางทีมงานก็มีวิธีรับมือกับเหล่าบรรดารอย ” ร้าว รั่ว ซึม “ ในจุดต่างๆ มาฝากกัน เพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ถึงสาเหตุและวิธีการป้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหากวนใจในการอยู่อาศัยค่ะ

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า ..ตอนตรวจรับบ้านหรือห้องในคอนโดฯ ก็ดูจนแน่ใจแล้วว่าบ้านไม่มีรอยแตกร้าวอะไร แต่พออยู่อาศัยไปสักระยะหนึ่งก็มักจะมีรอยร้าว รั่ว ซึม ต่างๆ เกิดเป็นลายแทงตามพื้น ผนังเกิดขึ้นมาได้ เอ๊ะ! แล้วรอยต่างๆ นี้มีสาเหตุมาจากอะไรล่ะ? แล้วแต่ละรอยมีความอันตรายระดับไหน วันนี้ทางทีมงานได้รวบรวมสาเหตุและวิธีจัดการกับรอยร้าว รั่ว ซึม ต่างๆ ที่มักจะเกิดตามรอยต่อของแนวโครงสร้างอย่างเช่น รอยต่อระหว่างเสา – คาน, รอยต่อระหว่างคาน – ผนัง หรือเป็นรอยต่อระหว่างอาคารเดิม – ส่วนที่ต่อเติมขึ้นมาในภายหลัง จุดเหล่านี้มักจะสร้างปัญหาอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำจะซึมเข้ามาตามรอยแยก รอยร้าว ของตัวบ้านแบบนี้ เราจึงควรจะซ่อมแซมรอยต่างๆ นี้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือนะคะ สำหรับสาเหตุและวิธีป้องกันรอยร้าว รั่ว ซึม ต่างๆ จะมีวิธีระดับความอันตรายและวิธีแก้ไขแต่ละจุด ตามนี้เลยค่ะ

1. รอยร้าวบนผนังตามผิวฉาบ

เป็นรอยบนผนังที่เรามักจะพบเจอกันอยู่เป็นประจำและพบเห็นได้ทั่วไปทั้งตามบ้านและอาคารสูง ลักษณะเป็นรอยร้าวขนาดเล็กเท่าไส้ดินสอกดมีหลายเส้นและมีทิศทางที่ต่างๆ กัน ส่วนใหญ่ปัญหานี้มักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างที่มีสาเหตุย่อยไปอีกหลากหลาย เช่น ขณะก่อสร้างอาจจะมีการพรมน้ำไม่พอทำให้ปูนฉาบเกิดการสูญเสียน้ำเร็วไปจนเกิดเป็นรอยแยกเล็กๆ บางสาเหตุเกิดจากการสั่นสะเทือนหลังจากการฉาบ หรือผนังที่ฉาบเป็นผืนขนาดใหญ่มากก็จะฉาบให้เรียบยากหน่อย ต้องอาศัยการเซาะร่องเข้าช่วยไม่อย่างนั้นจะเกิดการตึงตัวของผิวฉาบปูนที่มากเกินไป ซึ่งปัญหานี้เราสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ตอนรับโอนอาคาร ก็เรียกช่างมาแก้ Defect ได้ แต่ต้องทำใจไว้เพราะมันเป็นเรื่องที่พบเจอแทบทุกบ้าน พออยู่ไปแล้วนานวันเข้า ปัญหาของอุณหภูมิภายนอกและภายในบ้านที่ไม่เท่ากัน ทำให้ปูนฉาบเกิดการยืดหดตัวก็เกิดรอยร้าวตามผิวฉาบขึ้นได้

–> ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ไม่ยากโดยการใช้ปูนกาวโป๊วลงไปนั่นเอง ขั้นตอนก็คือ ให้กรีดบริเวณรอยร้าวเป็นรูปปากฉลาม แล้วโป๊วเก็บบริเวณรอยต่อ ขัดให้เรียบและทาสีทับ โดยให้เลือกใช้สีชนิดปกปิดรอยแตกร้าวเพราะเป็นสีที่มีความยืดหยุ่นสูง มีให้เลือกหลายยี่ห้อในท้องตลาดค่ะ

2. รอยร้าวบริเวณผนังชนคาน และรอยร้าวบนคาน

2.1 รอยร้าวช่วงรอยต่อของผนังชนคาน

ลักษณะของรอยร้าวนี้จะเกิดการแตกร้าวเป็นเส้นระหว่างใต้คานกับผนัง ซึ่งเป็นรอยร้าวสำคัญที่ทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวบ้านได้ ความอันตรายของรอยร้าวในส่วนนี้นั้นยังไม่มาก เพราะอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้น ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ในบ้านแต่ไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของอาคาร สาเหตุของรอยร้าวนี้มักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การผิดขั้นตอนหรือเร่งฉาบปูนเร็วเกินไป ทำให้ปูนเกิดการหดตัวลง เล็กน้อย จนเกิดเป็นรอยร้าวเล็กๆ ระหว่างผนังกับคานขึ้นมาได้ หรือบางทีก็อาจเกิดจากขั้นตอนการก่อสร้างผนังที่ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งเกาะยึดกับโครงสร้างคาน หรือเสียบแต่ไม่แน่นพอ ทำให้ผนังเกิดรอยร้าวระหว่างรอยต่อของคาน

–> วิธีจัดการกับปัญหานี้ที่ดีที่สุดคือ ต้องควบคุมการก่อสร้างตั้งแต่แรก แต่หากปัญหานี้เกิดขึ้นแล้วก็มีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าฝากกัน โดยการใช้ซิลิโคนหรืออครีลิกยิงเข้าไประหว่างร่อง ด้วยคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นของสารเชื่อมประสานจะช่วยอุดรอยร้าวได้ แต่เป็นแบบแค่ชั่วคราว 2-4 ปีเท่านั้น ก็คงต้องกลับมาแก้ไขกันอีก แต่ถ้าต้องการซ่อมแบบถาวรก็คงต้องทุบรื้อผนังบางส่วนที่ติดกับคานนั้นออก ทำการก่ออิฐเสริมเข้าไปใหม่แล้วฉาบปูนอีกครั้งหนึ่งค่ะ

2.2 รอยร้าวเป็นเส้นตรงแนวตั้งช่วงกลางคาน

อาการนี้เป็นลักษณะที่แสดงว่าคานรับน้ำหนักเกินกว่าที่วิศวกรกำหนดไว้ ค่อนข้างอันตรายกับตัวโครงสร้าง อาจจะเกิดจากการวางของหนักๆ ในตำแหน่งนั้น ถ้าลองย้ายของออกแล้วยังเกิดรอยร้าวต่อให้สันนิษฐานว่าเกิดความผิดปกติที่ตัวโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่อันตรายทีเดียว อาคารอาจถล่มได้นะคะ

–> วิธีแก้ไขคือ ให้ลองเอาของที่ตั้งอยู่บนเหนือคานออก แล้วสังเกตุดูนะคะว่ารอยร้าวนั้นมีความยาวเท่าเดิมหรือไม่ ถ้ารอยร้าวไม่มากขึ้นก็แสดงว่าเราแก้ไขได้ถูกจุดแล้ว ต่อไปก็ต้องวางของแบบกระจายน้ำหนัก อย่าเอาของหนักมาวางไว้ที่เดียว แต่ถ้ารอยร้าวยังยาวต่อไปอีกก็น่าจะเกิดปัญหาใหญ่กับตัวโครงสร้าง ให้ย้ายผู้อยู่อาศัยชั่วคราวก่อน แล้วรีบติดต่อวิศวกรมาตรวจสอบค่ะ

2.3 รอยร้าวในคาน ใกล้เสา

อาการนี้จะมีความอันตรายมากเช่นเดียวกับรอยร้าวตรงกลางคาน โดยมีลักษณะเป็นรอยเฉียงบริเวณปลายคานที่เชื่อมต่อกับเสาทั้งสองด้าน ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ว่าโครงสร้างของอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหวและกำลังจะฉีกแยกออกจากกัน

–> การแก้ไขต้องอาศัยวิศวกรมาตรวจสอบอย่างเร่งด่วน อย่างได้นิ่งนอนใจนะคะ

2.4 รอยร้าวแนวดิ่งบนผนัง

ส่วนที่รับน้ำหนักต่อลงมาจากคานและเสาก็คือผนัง ซึ่งหากคานรับน้ำหนักไม่ไหวจะเกิดการแอ่นตัวของพื้นและคานที่อยู่เหนือผนังส่งผลให้ผนังที่อยู่ติดกับโครงสร้างนั้นเกิดการแตกร้าว ลักษณะรอยร้าวมักเกิดขึ้นเป็นเส้นแนวดิ่งบริเวณกลางผนัง มีจุดเริ่มต้นจากเพดานหรือจากพื้น ยาวไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงผนัง

–> การแก้ไขเบื้องต้นให้รีบเคลื่อนย้ายของที่มีน้ำหนักมากออกไปจากบริเวณนั้นทันที แล้วเรียกวิศวกรมาตรวจสอบนะคะ

3. รอยร้าวตามมุมวงกบหน้าต่าง ประตู

นอกจากรอยร้าวตามผนังแล้วอีกจุดหนึ่งที่มักจะพบเจอได้บ่อยเช่นกันคือ รอยร้าวตามมุมวงกบประตูหน้าต่าง เป็นจุดที่เกิดรอยร้าวได้ง่าย จึงมักมีปัญหาน้ำรั่วซึมเข้ามาจากจุดนี้ สาเหตุเกิดจากบริเวณมุมวงกบมักจะมีแรงดึงมาก ทำให้การกระจายแรงบนผิวฉาบไม่เท่ากันจึงเกิดการแตกร้าวได้ง่ายบริเวณมุมวงกบ ตามปกติในการก่อสร้างจึงต้องใส่เหล็กกรงไก่เพื่อช่วยดึงให้วงกบประตูกับผนังอยู่ติดกัน แต่บางทีการใส่เหล็กที่ไม่มากพอ, ติดตั้งไม่ดี หรือฉาบหนาเกินไปก็เป็นสาเหตุให้เกิดรอยร้าวได้

–> สำหรับวิธีการแก้ไข ถ้าเป็นรอยร้าวเพียงเล็กน้อยอาจใช้ยาแนวหรืออะคริลิกอุดแล้วทาสีทับ แต่หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่ก็ควรเปลี่ยนประตูหน้าต่างใหม่ แล้วควบคุมการติดตั้งให้ได้มาตรฐาน มีการใช้ลวดกรงไก่มายึดติดกับผนังอิฐแล้วค่อยฉาบปูนใหม่ค่ะ

4. รอยร้าวช่วงผนังชนเสา และรอยร้าวที่เกิดจากเสา

4.1 รอยแยกที่เกิดระหว่างเสาและผนัง

ลักษณะรอยร้าวจะเป็นแนวขนานกับเสา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากตำแหน่งของเสาและผนังอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่างกัน เช่น ผนังด้านที่มีรอยแตกร้าวอยู่ทางทิศตะวันตกรับแดดร้อนในตอนบ่ายเต็มๆ แต่ช่วงเสาอาจจะมีเงาของร่มไม้ หรือตึกด้านข้างบังพอดี ทำให้ผนังและเสาเกิดการยืดหดตัวที่ต่างกัน จึงเกิดรอยแยกขึ้นได้ หรืออาจจะเกิดตั้งแต่ขั้นตอนในการก่อสร้างที่ไม่มีการเสียบเหล็กหนวดกุ้งระหว่างเสากับผนัง เมื่อเกิดการหดตัวจึงทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างขอบของแนวเสากับผนังได้

–> วิธีแก้ไขของรอยร้าวนี้หากเป็นแผลที่มีขนาดไม่ลึกมากก็สามารถใช้ PU โฟม ฉีดอัดเข้าไปเพื่ออุดรอยร้าวได้เลย แต่ในกรณีที่รอยร้าวกว้างมากก็จะต้องทุบผนังออกแล้วก่อใหม่ ซึ่งขั้นตอนการก่อก็ควรใช้เหล็กหนวดกุ้งช่วยรั้งรอยต่อระหว่างเสากับผนังไว้นะคะ

4.2 รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง

ลักษณะของรอยร้าวจะเป็นแนวเฉียงตั้งแต่มุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่เสาของบ้านในจุดใดจุดหนึ่งเกิดการทรุดตัวลง ส่งผลให้ผนังเกิดรอยแตกร้าวขึ้น

–> การแก้ไขเบื้องต้นให้วัดความกว้างและความยาวของรอยร้าวเอาไว้ แล้วสังเกตุว่ารอยยังลามต่อหรือไม่ ถ้ารอยไม่ยาวขึ้นก็ยังไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากรอยร้าวยังคงลามต่อไปควรต้องรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างนะคะ

5. รอยร้าวของพื้นที่รับน้ำหนักมากเกินไป

รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาทและรอยร้าวบริเวณกลางพื้น เป็นรอยร้าวที่มีสาเหตุจากพื้นรับน้ำหนักมากเกินไปจนเกินขีดความสามารถ ทำให้เกิดเป็นรอยร้าวได้ ส่วนใหญ่ที่เห็นอาการนี้มักจะเกิดกับพื้นบ้านชั้นล่างที่เทพื้นคอนกรีตลงบนดินแบบหล่อในที่ไม่ได้ออกแบบให้วางไว้บนคาน แล้วพอเวลาผ่านไปเกิดการทรุดตัวของดิน พอดินที่รับน้ำหนักพื้นทรุดลงก็จะทำให้พื้นทรุดตาม

–> ปัญหานี้แก้ไขยาก เพราะต้องทุบพื้นเดิมทิ้งแล้วหล่อใหม่ แต่ทางป้องกันที่ดีควรออกแบบพื้นให้วางบนคานตั้งแต่ต้

6. รอยร้าวระหว่างบ้านเดิมกับส่วนที่ต่อเติม

ตามปกติของ ” การต่อเติมบ้าน ” มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่การออกแบบเลยคือ ปัญหารอยแยกต่างๆ ที่ตัวโครงสร้างใหม่มักจะเกิดการทรุดตัว แยกตัว ออกจากตัวบ้านเดิม สาเหตุหลักเพราะส่วนที่ต่อเติมนั้นมีโครงสร้างที่แยกกับตัวบ้าน จึงเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน

–> ปัญหานี้หลีกเลี่ยงยากแต่ก็ป้องกันให้เกิดปัญหาช้าลงได้ด้วยการตอกเสาเข็ม ซึ่งจะทำให้พื้นทรุดตัวช้าลง หรือทรุดช้าพอๆ กับตัวบ้าน เป็นการยืดระยะเวลาที่บ้านจะทรุดตัวได้ วิธีการป้องกันคือ การก่อสร้างให้ผนังของส่วนต่อเติมแยกจากตัวอาคารเดิม ไม่ให้เชื่อมกันโดยตรง ส่วนบริเวณรอยต่อให้ยาแนวด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น PU หรือ ซิลิโคน เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซืมเข้าสู่ตัวอาคารค่ะ

สรุปเบื้องต้นของรอยร้าวต่างๆ ที่กล่าวมานี้ บางปัญหาก็เป็นเรื่องของตัวโครงสร้างอาคาร บางปัญหาก็เกิดจากขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งรอยร้าวต่างๆ นี้ มักจะมาเห็นผลในตอนหน้าฝน เมื่อน้ำรั่วเข้าบ้านตามรอยต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้น ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ดังนั้น เมื่อเกิดรอยร้าวก็ควรแก้ไขโดยเร็ว โดยต้องควบคุมให้การก่อสร้างหรือซ่อมแซมนั้นมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รวมถึงใช้บริการติดตั้งจากทีมช่างที่มีความชำนาญ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้มากที่สุด

การป้องกันแก้ไขสำหรับรอยร้าวในจุดต่างๆ ก็ได้อธิบายไปหมดแล้ว ก็หวังว่าจะช่วยหาวิธีแก้ไขให้กับเพื่อนๆ ได้พอสมควร แต่หากไม่ได้เตรียมการรับมือไว้อย่างที่กล่าวมา ปัญหาเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นและรอยร้าวบางจุดก็เป็นตัวแสดงถึงความอันตรายในระดับโครงสร้างด้วยเช่นกัน แล้วจะมีวิธีอย่างไรอีกบ้างในการรับมือกับปัญหานี้ ?.. ” การทำประกันภัยบ้าน “ ถือเป็นอีกทางออกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ต้องเสียเงินก้อนโตไปกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น หากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ผนังอาคารร้าวจนน้ำฝนไหลเข้าบ้าน เข้าห้องพักอาศัย ซึ่งอาจทำให้เราต้องซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ใหม่ และซ่อมแซมบ้านในส่วนที่ชำรุดเสียหาย ..หากใครยังไม่เข้าใจถึงเรื่องของประกันภัยบ้านว่าทำหน้าที่อะไร บทความนี้จะยก Case Study ที่เกิดขึ้นจริงมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

เริ่ม Case Study แรกกันเลยนะคะ เป็นกรณีของบ้านพักอาศัยที่เกิดรอยร้าวช่วงรอยต่อของผนังชนคานทำให้น้ำฝนไหลเข้ามาในบ้านได้จากรอยร้าวนี้ บ้านหลังนี้โดนน้ำฝนซึมผ่านรอยร้าวเข้าบ้านแล้วน้ำก็ไหลไปลงบนฝ้าเพดาน พอเพดานทะลุน้ำก็หยดลงมาที่พื้นบ้าน บางทีก็โดนเฟอร์นิเจอร์จนได้รับความเสียหายจากอาการบวมน้ำ สำหรับบ้านนี้ทำประกันไว้จึงแจ้งไปทางประกันภัย ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสาเหตุ เมื่อทราบว่าเป็นเพราะบ้านเกิดรอยร้าวทำให้น้ำสามารถซึมผ่านเข้ามาได้ ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุที่ครอบคลุมอยู่ในประกันบ้าน ทางเจ้าหน้าที่จึงทำการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อชดเชยความเสียหายให้ต่อไป

อย่างเหตุการณ์น้ำที่เข้ามาในบ้านหลังนี้ จะได้รับความเสียหายบริเวณโซนรับประทานอาหาร ทางประกันภัยก็จะรับเคลมเฉพาะพวกเฟอร์นิเจอร์ที่โดนน้ำ เช่น โต๊ะทานข้าว, ฝ้าเพดานและพื้น ซึ่งทางประกันภัยจะรับผิดชอบกับค่าความเสียหายพวกนี้ให้ แต่จะไม่ได้รับผิดชอบกับตัวต้นเหตุของเรื่องอย่างบริเวณรอยร้าวนะคะ โดยในส่วนของรอยร้าวทางเจ้าของบ้านจะต้องไปซ่อมเองค่ะ

Case Study ที่ 2 กรณีนี้มีสาเหตุมาจากน้ำที่ซึมออกมาจากท่อน้ำทิ้งหลักของอาคาร ที่มีการเดินท่อติดกับผนังด้านนอก แล้วน้ำจากท่อก็ไหลซึมเข้ามาในห้องบริเวณรอยต่อของผนัง จะสังเกตุเห็นวอลล์เปเปอร์ที่บวมน้ำจนหลุดร่อนเลยทีเดียว

นอกจากวอลล์เปเปอร์ที่ได้รับความชื้นไปเต็มๆ แล้ว ห้องนี้จะมีรอยร้าวตามรอยต่อหน้าต่างด้วย ทำให้น้ำฝนสามารถไหลเข้ามาในตัวห้องได้ ความเสียหายของห้องนี้จะเห็นได้ตั้งแต่ฝ้าเพดานลามลงมาจนถึงผนัง สำหรับกรณีนี้ประกันภัยก็จะรับผิดชอบค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ้า, ผนังและพื้นที่เสียหายให้ค่ะ

Case Study ที่ 3 เกิดขึ้นกับคอนโดอีกแห่งหนึ่งที่มีน้ำรั่วจากผนังตึกเข้ามาในอาคาร พอน้ำไหลเข้ามามากๆ ก็ทำให้ฝ้าเพดานรั่วจนน้ำไหลเข้ามาในห้อง ทำให้เกิดความเสียหายในส่วนของฝ้า ผนัง และพื้น ทางประกันภัยก็ได้เข้ามารับผิดชอบค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในห้องอีกเช่นกัน

ขอขอบคุณ Case Study จริงจากบริษัท AXA นะคะ โดยในส่วนของ “ประกันภัยบ้าน” นั้น ก็จะครอบคลุมในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างในกรณีที่น้ำฝนไหลเข้ามาในห้องพักตามรอยร้าวต่างๆ ก็จะสามารถเคลมได้ตั้งแต่เรื่องฝ้าเพดานบวม วอลล์เปเปอร์ ที่เสียหาย มาจนถึงพื้นบ้าน ที่มักจะเกิดอาการบวมน้ำ รวมถึงพวกเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เกิดความเสียหายจากน้ำที่เข้ามาในห้องได้เช่นกัน แต่จะไม่ได้รับผิดชอบรอยร้าวที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์นี้ที่เจ้าของบ้านต้องไปซ่อมแซมเอง สำหรับใครที่สนใจ ” ประกันภัยบ้าน ” ก็สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลย