ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

6 วิธีป้องกันอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

6 วิธีป้องกันอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเป็นการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพมากขึ้น ได้ทั้งสภาพร่างกายที่แข็งแรง จิตใจเบิกบาน  ยังได้ทั้งสังคมในกลุ่มเพื่อนใหม่ๆ ที่เล่นฟุตบอลบ้าง หรือจะเป็นฟุตซอล แบดมินตัน เทนนิสไปจนถึงการวิ่งมาราธอนในระยะต่าง ๆ สำหรับคนที่ต้องการ “เคาะสนิม” เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ต้องเตรียมตัวร่างกายและใจให้พร้อม เพื่อหลีกเลี่ยงจากอาการบาดเจ็บโดยคาดไม่ถึง

1.วอร์มอัพก่อนลุย

การได้เหยียดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเริ่มต้นเบาๆ ไปก่อน จะช่วยการไหลเวียนของเลือด ทั้งการได้คลายกล้ามเนื้อทุกส่วน มีนักวิ่งหลายคนขี้เกียจบริหารร่างกายในท่าพื้นฐานทั้งการหมุนหัวไหล่ สะบัดมือ แขน ขา ส่วนใหญ่จะเข้าลู่วิ่งทันที เคยมีให้เห็นเป็นตัวอย่าง มีนักวิ่งหน้าใหม่วิ่งรวมกลุ่มนักวิ่งคนอื่น ก่อนจะเริ่มวิ่งช้าลง เกิดอาการจุกเสียด หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ ควบคุมการหายใจเข้าออกไม่ได้

2.สวมใส่อุปกรณ์กีฬา

ไม่ว่าจะเล่นกีฬาอะไร รองเท้าที่สวมใส่ได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมอยู่แล้ว การใช้รองเท้าหรือเครื่องป้องกันตัวอื่นๆ อย่างผ้ารองข้อศอกจะช่วยหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ ส่วนการใส่รองเท้าผิดประเภท อาจจะต้องทนเจ็บเดินกระเผลกกับอาการส้นรองช้ำ ข้อเท้าแพลง บางรายเจ็บเรื้อรัง ขาดการรักษาที่ถูกต้อง จะหาหมอก็ต่อเมื่ออาการหนักแล้ว ดังนั้น การสวมใส่อุปกรณ์ที่เหมาะสมจึงช่วยลดอาการบาดเจ็บลงได้

3. ‘ร่างกาย’ต้องพร้อม

ลองตรวจสอบตัวเองก่อนว่าวันนี้พักผ่อนมาเต็มที่หรือไม่ บางคนนอนหลับกลางคืนไม่กี่ชั่วโมงแล้วตื่นเช้าไปทำงาน ตกเย็นสวมชุดกีฬาที่ค้นเคยลงสนามทันที หลายคนคิดว่าตัวเองแข็งแรง ทำอย่างนี้ทุกวันเท่ากับสะสมความเหนื่อยล้าของร่างกายเป็นทวีคูณ อาจเกิดอาการน็อกกลางอากาศโดยไม่รู้ตัว หากรู้สึกอ่อนเพลีย ก็หยุดออกกำลังกายไปก่อนอย่าฝืนจะดีกว่า 

4.เข้าใจ ‘ทักษะ’

ไม่ว่าจะเล่นบาสเกตบอลหรือฟุตบอล หลายรายไม่ทันระวังตัวถูกศอกของคู่ต่อสู้กระแทกใส่ใบหน้าทั้งเป็นแผลแตกหรือดั้งจมูกหัก ฟันหัก การทำความเข้าใจกับวิธีการเล่นที่ถูกต้อง มีน้ำใจนักกีฬา มีการฝึกฝน และสภาพร่างกายที่แข็งแกร่ง จะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก

5.ไม่หักโหม

คนที่มีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งโรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน หรือโรคหัวใจ ก็ตาม สามารถจะเล่นกีฬาได้เหมือนคนที่มีสุขภาพดี เพียงแต่อย่าหักโหม ต้องรู้จักประเมินสภาพร่างกายของตัวเองไว้ก่อน

6. การคูลดาวน์ (Cool down)

หลังเล่นกีฬาเสร็จแล้ว ควรจะเคลื่อนไหวร่างกายไปสักพักด้วยการเดินไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนขาได้คลายความเมื่อยล้า โดยเฉพาะกรดแลคติกในกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยจะค่อยๆ สลายไป หลังออกซิเจนในเลือดได้เข้ามาหล่อเลี้ยงอีกครั้งช่วยลดการปวดกล้ามเนื้อได้ หัวใจที่เต้นถี่มากขึ้นได้กลับมาเต้นในอัตราปกติ การสูบฉีดของเลือดไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นปกติอีกครั้ง

และหากสนใจเพิ่มความปลอดภัยให้คนที่คุณห่วงใยจากการออกกำลัง หรือเล่นกีฬา เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา มีประกันอุบัติเหตุจากแอกซ่า เราพร้อมคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลทุนประกันภัยคุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท ราคาคุ้มค่า เบี้ยเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท/ปี พร้อมบริการรับแจ้งอุบัติเหตุ แอกซ่า ฮอตไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-2118-8111

_____________________________________________________________________________________________

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

______________________________________________________________________________________________

ซื้อระกันอุบัติเหตุจากแอกซ่าผ่านออนไลน์ได้ที่นี่

______________________________________________________________________________________________

หากสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติม แอกซ่าพร้อมแสตนด์บายผ่านช่องทาง

- Line Official: @axathailand
- Facebook: www.facebook.com/AXAThailand
- AXA Customer Service 02 118 8111

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง